ธนาคารออมสิน ไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อย ‘เงินกู้’ ผ่านเฟซบุ๊ก Gthtfjfh

ธนาคารออมสิน ไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อย ‘เงินกู้’ ผ่านเฟซบุ๊ก Gthtfjfh

ได้มีการแจ้งเตือนให้ระวังเฟซบุ๊กนามว่า Gthtfjfh ที่มีการแอบอ้าง และตัดต่อภาพโดยสัญลักษณ์ของ ธนาคารออมสิน เพื่อหลอกเปิดให้บริการเงินกู้ (27 มิ.ย. 2565) ตามที่มีการเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องธนาคารออมสินปล่อยกู้ผ่านเฟซบุ๊ก Gthtfjfh ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับธนาคารออมสิน กระทรวงการคลังพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีที่มีการโพสต์ในเฟซบุ๊กโดยระบุว่า 

ธนาคารออมสิน ปล่อยกู้ผ่านเฟซบุ๊ก Gthtfjfh ปล่อยเงินกู้ 30,000 ผ่อนเดือนละ 1,500 บาท ผ่อน 24 เดือน ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันนั้นทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่าธนาคารไม่ได้เปิดเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว และไม่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารออมสิน อีกทั้งการตัดต่อภาพและนำตราสัญลักษณ์ของธนาคารไปใช้ในเพจก็มิได้ขออนุญาตจากธนาคารแต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารออมสิน สามารถติดตามได้ที่เฟซบุ๊ก ธนาคารออมสิน GSB Society หรือ โทร 1115

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ธนาคารไม่ได้เปิดเพจเฟซบุ๊กดังกล่าว และไม่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารออมสิน อีกทั้งการตัดต่อภาพและนำตราสัญลักษณ์ของธนาคารไปใช้ในเพจก็มิได้ขออนุญาตจากธนาคารแต่อย่างใด

IBank ได้ประกาศเชิญชวนให้นักเรียน – นักศึกษา ออมเงินผ่าน บัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเรียน สามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท ตั้งแต่ต้นปี 2565

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์ – IBank) ปลูกฝังการออมด้วย บัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเรียน เงินฝากสำหรับเด็กที่ผู้ปกครองต้องการออมเพื่ออนาคตลูกหลานและปลูกฝังให้รักการออมตั้งแต่เด็ก สามารถเปิดบัญชีขั้นต่ำ 1 บาท ตั้งแต่ต้นปี 2565 ธนาคารจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ฝากสูงกว่าที่คาดไว้

บัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเรียน เป็นเงินรับฝากตามหลักการมุฎอเราะบะฮ์ (หลักการร่วมลงทุน) ผู้ฝากสามารถเปิดบัญชีตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป ฝากได้สูงสุดไม่จำกัดวงเงินและจำนวนครั้งในการฝาก โดยคุณสมบัติผู้ฝากต้องเป็นบุคคลธรรมดา อายุไม่เกิน 20 ปี

หากอายุยังไม่ถึง 7 ปี ให้ใช้ชื่อผู้ปกครองในการเปิดบัญชี โดยใช้เป็นบัญชีเพื่อและในใบคำขอเปิดบัญชีให้เป็นข้อมูลและลงลายมือชื่อโดยผู้ปกครอง กรณีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ให้ใช้ชื่อเด็กในการเปิดบัญชีโดยผู้ปกครองต้องเซ็นหนังสือยินยอม และผู้ฝากที่อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ (มีบัตรประจำตัวประชาชน) ไม่ต้องให้ผู้ปกครองเซ็นหนังสือยินยอม

ผู้ฝากสามารถถอนเงินได้ตลอดเวลาที่เคาน์เตอร์สาขาของธนาคาร และหากต้องการทำบัตรเอทีเอ็มผู้ฝากสามารถทำบัตรและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มได้ เมื่อผู้ฝากมีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป

ทั้งนี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการทำบัตรเอทีเอ็มในปีแรกสำหรับบัตรเอทีเอ็มบัตรเงิน

สำหรับการจ่ายผลตอบแทนบัญชีเงินรับฝากของธนาคาร กรณีเป็นเงินรับฝากตามหลักมุฎอเราะบะฮ์ หรือเงินฝากเพื่อการลงทุน ธนาคารจะประกาศสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนระหว่างลูกค้ากับธนาคารอย่างชัดเจน โดยบัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเรียน ธนาคารประกาศสัดส่วนการแบ่งผลตอบแทนระหว่างลูกค้ากับธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 อยู่ที่ 25 : 75 (ลูกค้า : ธนาคาร) และแจ้งผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับอยู่ที่ร้อยละ 0.60 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จากการติดตามการจ่ายผลตอบแทนในทุกวันที่ 16 ของเดือน จะเห็นว่าตั้งแต่เดือน ม.ค. 2565 ธนาคารประกาศจ่ายผลตอบแทนสูงกว่าอัตราที่คาดไว้อย่างต่อเนื่อง

ธนาคารจึงอยากเชิญชวนนักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง มาเปิดบัญชีเงินฝากอุ่นใจวัยเรียน กันได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ผู้สนใจสามารถเปิดบัญชีได้ที่ ไอแบงก์ ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ iBank Call Center 1302 หรือ แชททาง Messenger : Islamic Bank of Thailand – ibank (@ibank.th) และ Line : iBank 4 all (@ibank)

นอกจากนี้ ตามที่มีข่าวปรากฏในภายหลังว่า กระทรวงการคลังจะมีมาตรการเยียวยาแจกเงิน จำนวน 4,000 บาท ขอเรียนว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ทั้งนี้ สามารถติดตามสืบค้นข้อมูลข่าวสารและความคืบหน้าที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของกระทรวงการคลังได้จากแถลงข่าวกระทรวงการคลัง ในเว็บไซต์ www.mof.go.th หรือในเฟซบุ๊ก “สถานีข่าวกระทรวงการคลัง”

สรรพากร ชี้แจงเพิ่มเติมถึงการยกเว้น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินการของ มาตรการเยียวยา และฟื้นฟูผลกระทบจากเชื้อไวรัส โควิด-19

ทางกรม สรรพากร ได้ทำการชี้แจงเพิ่มเติม ในส่วนของการยกเว้น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาสำหรับเงินหรือสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการของ มาตรการเยียวยา และฟื้นฟูผลกระทบจากเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่มีอยู่ด้วยกัน 4 มาตรการ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป